หัวข้อ   “เด็ก ม.6 คิดอย่างไรกับการสอบแอดมิชชั่นส์ ปี 54”
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  เผยผลสำรวจความคิดเห็นของ
นักเรียน ม.6. ในเขตกรุงเทพฯ  และจังหวัดในภาคกลาง ที่กำลังรอผลแอดมิชชั่นส์ ปี 2554
พบว่า นักเรียนมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 50.3)  ใช้ทั้งวิธีสอบตรงและสอบตามระบบแอดมิชชั่นส์
ในขณะที่ ร้อยละ 31.0 เลือกวิธีสอบตรงอย่างเดียว   มีเพียงร้อยละ 18.7 เท่านั้น ที่เลือกวิธี
สอบตามระบบแอดมิชชั่นส์อย่างเดียว  อย่างไรก็ตามนักเรียน ม.6 ร้อยละ 40.7 เห็นว่า
หลักเกณฑ์การสอบแอดมิชชั่นส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเหมาะสมและสมควรให้มีต่อไป (โดยให้
เหตุผลว่า สอบส่วนกลางสามารถเก็บคะแนนได้หลายครั้ง สามารถเลือกคะแนนที่ดีที่สุดได้
สามารถนำคะแนนเก็บในโรงเรียนตอน ม.ปลาย มาคิดเป็นคะแนนสอบได้ ทำให้เกิดความตั้งใจ
เรียนในโรงเรียนมากขึ้น เป็นต้น) 
ขณะที่ร้อยละ 20.8 เห็นว่าไม่เหมาะสมและควรยกเลิก
(โดยให้เหตุผลว่าทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการสอบหลายๆ ครั้ง จำนวนครั้งที่สอบ
มีมากเกินไป และทำให้เครียด เป็นต้น)
  และร้อยละ 38.5 ไม่แน่ใจว่าระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
มีความเหมาะสมหรือไม่
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ทั้งนี้นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.4) ระบุว่า มีความเชื่อมั่นต่อระบบการรวม
คะแนนและการประกาศผลสอบแอดมิชชั่นปี 54  ในขณะที่ร้อยละ 36.6 ระบุว่าไม่เชื่อมั่น
 
                 สำหรับหลักเกณฑ์ที่นักเรียนชั้น ม. 6 ในปีนี้ใช้เลือกในการยื่นคะแนนแอดมิชชั่นเป็นอันดับแรก คือ เลือกคณะ
ที่ชอบเรียนและตั้งใจจะเรียนโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน (ร้อยละ 60.4)  รองลงมาคือ เลือกคณะที่มีคะแนนถึงโดยไม่สนว่า
จะเป็นคณะใด สถาบันใด (ร้อยละ 22.3)  และเลือกโดยยึดสถาบันเป็นหลักโดยไม่สนใจที่คณะ (ร้อยละ 7.5)
   
                 ส่วนหลักเกณฑ์ในการเลือกสถาบัน เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาพบว่า อันดับแรก ดูที่ความเชี่ยวชาญ
ในสาขาที่ต้องการเรียน (ร้อยละ 79.4)   รองลงมา ดูที่การเดินทางสะดวกสบาย (ร้อยละ 77.5)   และดูที่มีคณะ/หลักสูตร
ให้เลือกหลากหลาย (ร้อยละ 71.9) ตามลำดับ
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. วิธีที่นักเรียนชั้น ม.6 ใช้ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปีนี้ คือ

 
ร้อยละ
สอบตามระบบแอดมิชชั่นส์อย่างเดียว
18.7
สอบตรงอย่างเดียว
31.0
เลือกสอบทั้ง 2 วิธี
50.3
 
 
             2. ความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์การสอบแอดมิชชั่นส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
เห็นว่าเหมาะสมและสมควรให้มีต่อไป
โดยให้เหตุผลว่า
  - สอบส่วนกลางสามารถเก็บคะแนนได้
  หลายครั้ง สามารถเลือกคะแนนที่ดี
  ที่สุดได้
ร้อยละ 23.7
  - สามารถนำคะแนนเก็บในโรงเรียนตอน
  ม.ปลาย มาคิดเป็นคะแนนสอบได้ ทำให้
  เกิดความตั้งใจเรียนในโรงเรียนมากขึ้น
ร้อยละ 15.1
  - สามารถแก้ หรือลดปัญหาการกวดวิชา
  แบบเก็งข้อสอบได้
ร้อยละ  0.9
  - อื่นๆ อาทิ มีข้อมูลชัดเจนทั้งหนังสือ
  และ ผ่านเว็บไซต์ มีการสอบที่หลากหลาย
  ฯลฯ
ร้อยละ  1.0
40.7
เห็นว่าไม่เหมาะสมและสมควรยกเลิก
โดยให้เหตุผลว่า
  - ทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการ
  สอบหลายๆครั้ง
ร้อยละ  6.8
  - จำนวนครั้งที่สอบมีมากเกินไป
  ทำให้เครียด
ร้อยละ  5.7
  - ทำให้ต้องวิ่งรอกหาสถานที่สอบตรง
  เข้ามหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ  1.4
  - ทำให้ต้องกวดวิชามากขึ้น ร้อยละ  1.4
  - อื่นๆ อาทิ เนื้อหาข้อสอบยากเกินไป
  ไม่ตรงกับที่อาจารย์และโรงเรียนสอน
  ข้อสอบมุ่งเน้นไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  ไม่กระจาย แต่ละโรงเรียนมีมาตรฐาน
  การ ให้เกรดไม่เท่ากัน ตัดโอกาสสอบ
  สำหรับคนที่ฐานะไม่ดี ฯลฯ
ร้อยละ  5.5
20.8
ไม่แน่ใจว่าเหมาะสมหรือไม่
38.5
 
 
             3. เมื่อถามถึง ความเชื่อมั่นที่มีต่อระบบการรวมคะแนนและการประกาศผลสอบแอดมิชชั่นส์ พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
โดยแบ่งเป็น - เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ   5.5
  - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ  57.9
63.4
ไม่เชื่อมั่น
โดยแบ่งเป็น - ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ   2.9
  - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ  33.7
36.6
 
 
             4. หลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกคณะในการยื่นคะแนนแอดมิชชั่นส์ คือ

 
ร้อยละ
เลือกคณะที่ชอบเรียนและตั้งใจจะเรียนโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน
60.4
เลือกคณะที่มีคะแนนถึงโดยไม่สนว่าจะเป็นคณะใด สถาบันใด
22.3
เลือกโดยยึดสถาบันเป็นหลักโดยไม่สนใจที่คณะ
7.5
เลือกทั้งคณะและสถาบันที่ชอบ
5.9
เลือกตามเพื่อนเพื่อจะได้ไปเรียนด้วยกัน
3.9
 
 
             5. เกณฑ์ที่ ใช้ในการเลือกสถาบัน / มหาวิทยาลัยเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา คือ
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่ต้องการเรียน
79.4
การเดินทางสะดวกสบาย
77.5
มีคณะ/หลักสูตรให้เลือกหลากหลาย
71.9
ดูอัตราการได้งานทำของบัณฑิตที่จบ
70.7
อาคารเรียน อุปกรณ์การสอนทันสมัย
67.8
มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในสังคม
61.7
ดูจากศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จ / มีชื่อเสียง
58.9
ค่าเล่าเรียน/ ค่าเทอมถูก
54.9
ดูจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาโดย สมศ. และ สกอ.
54.8
ดูผลงานและงานวิจัยของคณาจารย์
50.1
มีคนรู้จัก / รุ่นพี่เรียนอยู่
37.3
อื่นๆ อาทิ ผู้ปกครอง หรือ คนที่รู้จักแนะนำ สถานที่และบรรยากาศของ
มหาวิทยาลัย ฯลฯ
2.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้น ม.6 ที่กำลังรอผลแอดมิชชั่นส์  ทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดในพื้นที่
ภาคกลาง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 54  เพื่อสะท้อนมุมมองให้สังคม  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในรุ่นต่อ ๆ ไป
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่จบจากโรงเรียนทั้งในสังกัดรัฐบาลและ
เอกชน  ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและจังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง   ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling)  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,154 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 32.2  และเพศหญิงร้อยละ 67.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ
(Open Form)  และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  28 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 พฤษภาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
372
32.2
             หญิง
782
67.8
รวม
1,154
100.0
สังกัดของโรงเรียนที่จบการศึกษาระดับ ม.6:
 
 
             รัฐบาล
1,042
90.3
             เอกชน
112
9.7
รวม
1,154
100.0
จังหวัด:
 
 
             กรุงเทพมหานคร
328
28.4
             จังหวัดในภาคกลาง
826
71.6
รวม
1,154
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776